การทำหนังตะลุง
การแกะรูปหนัง
การแกะรูปหนัง เป็นงานหัตถกรรมที่มีสืบมาแต่อดีตควบคู่กับการเล่นหนังตะลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เป็นแหล่งที่มีการประกอบหัตถกรรมประเภทนี้มากที่สุด ปัจจุบันประมาณว่ามีช่างแกะรูปหนังทั้ง 3 จังหวัดนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 150 คน บางท้องถิ่นอย่างเช่น หมู่ที่ 5 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการประกอบการเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายครัวเรือน
แต่เดิมการแกะรูปหนังจะทำเฉพาะรูปสำหรับเชิดในการเล่นหนังตะลุงเท่านั้น ช่างแกะรูปหนังจึงมีไม่มากทำกันในวงแคบและด้วยใจรักหนังตะลุงเป็นหลัก แต่ระยะหลังคือประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีผู้คิดนำเอากระดาษถุงปูนซีเมนต์มาแกะระบายสีเป็นรูปหนังตะลุงออกจำหน่ายตามตลาดนัดและงานเทศกาลต่างๆ ครั้นช่างแกะหนังเห็นว่าขายดี จึงหันมาแกะรูปหนังด้วยหนังจริงๆ ออกจำหน่ายเป็นเชิงพาณิชย์ ด้านรูปแบบก็ค่อยพัฒนากว้างขวางขึ้น คือแทนที่จะแกะรูปหนังเชิดเพียงอย่างเดียวก็คิดแกะเป็นรูปจับและรูปหนังใหญ่เพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งฝาผนังอาคารบ้านเรือน ยิ่งในช่วงหลัง พ.ศ.2510 รูปหนังสำหรับตกแต่งเป็นที่ต้องการของชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จึงมีผู้หันมาประกอบหัตถกรรมแกะรูปหนังมากขึ้นช่างหลายคนได้พัฒนาฝีมือจนผลงานมีคุณค่าสูงส่งทางศิลปะมีช่างสุชาติ ทรัพย์สิน ช่างเจริญ เมธารินทร์ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ช่างอิ่ม จันทร์ชุม อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นต้น
งานแกะรูปหนัง ไม่ว่าจะเป็นรูปหนังตะลุงสำหรับเชิดหรือรูปสำหรับประดับตกแต่ง มีกรรมวิธีและขั้นตอนดำเนินการเหมือนกันดังนี้ ในการเตรียมหนัง ช่างจะนำหนังสดๆ ที่เพิ่งชำแหละมาใหม่ๆ มาขึงกับกรอบไม้สี่เหลี่ยม โดยใช้เชือกหรือลวดดึงหนังทุกด้านให้ตึงใช้มีดตัดเนื้อเยื่อและพังผืดของหนังด้านในออกตากหนังทิ้งไว้ 2-3 วัน เมื่อหนังแห้งสนิทแล้วจึงแก้ออกจากกรอบไม้นำมาฟอก วิธีฟอกหนังสมัยก่อนทำได้หลายแบบ เช่น แช่หนังในน้ำหมักผลมะเฟือง ใบส้มป่อย ใบชะมวง หรือส้มอื่นๆ และข่า และแช่หนังในน้ำหมักเนื้อสับปะรด เป็นต้น
ขั้นเตรียมหนัง ขั้นเตรียมหนัง หนังสัตว์ที่ช่างนิยมนำมาแกะรูปหนังมี 2 อย่าง คือ หนังวัวและหนังควาย เพราะหนังมีความหนาพอเหมาะ เหนียวทนทาน เมื่อฟอกแล้วจะโปร่งแสง ครั้นระบายสีและนำออกเชิดบนจอ (สำหรับหนังตะลุง) จะให้สีสันสวยงาม ดูโปร่ง ไม่มืดทึบ อีกอย่างหนึ่งหนังวัว หนังควายไม่บิดงอหรือพับง่ายๆ เมื่อออกเชิดจึงบังคับการเคลื่อนไหวให้ตัวหนังแสดงอิริยาบถได้ดี และสมจริง สำหรับหนังสัตว์อื่นๆ เช่นหนังค่าง หนังอีเก้ง หนังหมี หนังเสือ ฯลฯ ก็ใช้แกะรูปหนังได้แต่หนังสัตว์พวกนี้ค่อนข้างจะทึบแสง ช่างจึงใช้แกะรูปที่ไม่ต้องการโชว์ลายแกะฉลุและสีสันของตัวหนัง เช่น รูปตลก และรูปกาก ทั้งหลาย การหมักจะใช้เวลา 3-4 วัน ให้กรดจากน้ำหมักกัดหนังให้ขาวและหนังนิ่มคืนสภาพเหมือนหนังสดๆ จากนั้นจึงนำหนังมาล้างเพื่อขูดขนออก วิธีฟอกหนังทั้งสองแบบ แบบที่หมักน้ำสับปะรดลงทุนสูงกว่า แต่สะดวกและรวดเร็ว เพราะวิธีนี้เนื้อเยื่อและขนจะหลุดออกจากหนังได้โดยง่าย
การฟอกหนัง
การฟอกหนังในปัจจุบันสะดวกและรวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก คือ ช่างจะแช่หนังที่ตากแห้งแล้วในน้ำส้มสายชูซึ่งผสมน้ำให้พอมีรสเปรี้ยวแช่ไว้ชั่วโมงเศษๆ หนังก็จะคืนตัวนิ่มอย่างหนังสดๆ จากนั้นจึงนำไปขูดขนออก การขูดขนต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะมีดอาจเฉือนหนังให้เกิดรอยตำหนิได้หรือไม่ก็ทำให้หนังหนาบางไม่เท่ากัน เวลาขูดหนังช่างอาจขูดบนแผ่นไม้หรืออาจใช้ไม้กลมรองแล้วขูดได้ แต่วิธีหลังนัยว่าสามารถขูดขนออกได้หมดจดกว่าเมื่อขูดหนังเรียบร้อยแล้วทั้งผืนจะล้างหนังด้วยน้ำสะอาดแล้วเอาขึงกับกรอบไม้สี่เหลี่ยมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อผึ่งลมหรือแดดอ่อนๆ ให้หนังค่อยๆ แห้งลงอย่างช้าๆ ช่างจะไม่เอาหนังผึ่งแดดจัดเพราะหนังจะแห้งและหดตัวเร็ว เกิดการบิดตัวโค้งงอไม่สวยงาม เมื่อหนังแห้งสนิทจึงแก้ออกจากกรอบตัดหนังรอบนอกซึ่งมีรอยตำหนิทิ้งก็จะได้หนังที่จะใช้แกะฉลุตามต้องการ
ปัจจุบันนี้ช่างบางคนมิได้ฟอกหนังใช้เอง แต่จะรับซื้อหนังที่ฟอกแล้วมาจากโรงงาน ทำให้งานแกะรูปหนังลดขั้นตอนไปได้ขั้นหนึ่ง แต่หนังที่ฟอกจากโรงงานจะมีลักษณะด้อยกว่าหนังที่ฟอกเองมาก คือ มีความบาง เนื้อหนังค่อนข้างยุ่ย ไม่คงทนบิดงอง่าย แชะค่อนข้างทึบแสง หนังประเภทนี้ช่างแกะหนังเรียกว่า "หนังผ่า" ด้วยเหตุที่หนังผ่ามีคุณภาพต่ำ จึงไม่นิยมใช้แกะรูปหนังสำหรับเชิด รูปหนังประเภทใช้ประดับตกแต่งที่ต้องลงสีหลายๆ สีจึงไม่เป็นที่นิยม เพราะค่อนข้างทึบแสงดังกล่าวแล้ว หนังผ่าจะใช้รูปแกะรูปประดับตกแต่งที่ลงสีดำทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่กับหนังด้านในเพียงด้านเดียวการแกะรูปหนังประเภทนี้มีวิธีเตรียมหนังต่างไปจากหนังที่ต้องขูดขนเล็กน้อย กล่าวคือ ในขั้นตอนการฟอกหนังช่างจะผสมน้ำยากันขนร่วงลงในน้ำส้มที่ฟอกหนังด้วย การตกแต่งหนังก็ทำเฉพาะด้านในเพียงด้านเดียว
ขั้นร่างภาพ
ขั้นร่างภาพ การร่างภาพเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดในการแกะรูปหนัง ช่างส่วนหนึ่งไม่สามารถร่างภาพได้ ทำหน้าที่เพียงเตรียมหนังแกะฉลุหรือลงสีเท่านั้น งานร่างภาพเป็นงานที่ประณีตต้องมีความสามารถในการออกแบบ ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้ จินตนาการ ฝีมือและทักษะประกอบกัน การทำรูปหนังเชิดไม่ค่อยมีปัญหาในการร่างภาพมากนัก เพระมีแบบให้เห็นอยู่มากมาย รูปที่แกะก็แยกเป็นตัวๆ มีขนาดไม่ใหญ่และใช้กนกงกงอนไม่มากมายอย่างหนังใหญ่ แต่ถ้าเป็นรูปจับและรูปหนังใหญ่แล้ว การร่างภาพเป็นเรื่องใหญ่และยุ่งยากมากโดยทั่วไปรูปจับและรูปหนังใหญ่มักเกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์ ช่างต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องรามเกียรติ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องรู้จักรูปร่างลักษณะและนิสัยใจคอของตัวละครต่างๆ เป็นอย่างดีเพราะเวลาร่างภาพต้องให้ลักษณะภาพถูกต้องตามลักษณะรูปร่างของตัวละครในรามเกียรติ์ ทั้งต้องร่างภาพให้ได้อารมณ์ตรงตามเหตุการณ์ของเรื่องและอุปนิสัยใจคอของตัวละครตัวนั้นๆ ในการร่างภาพดังกล่าวนี้ช่างต้องศึกษาวรรณคดีและที่สำคัญคือพยายามเก็บภาพเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้จากที่มีผู้ทำไว้แล้วมาคิดเสริมเติมแต่งขึ้นอีกทีหนึ่ง ในการร่างภาพที่ไม่ซับซ้อนนัก ช่างนิยมใช้เหล็กปลายแหลมที่เรียกว่า "เหล็กจาร" ร่างภาพลงไปในแผ่นหนังเลยทีเดียว ที่ทำได้เช่นนี้เพราะรอยเหล็กจารที่ปรากฏบนแผ่นหนังสามารถลบได้ง่ายโดยใช้นิ้วมือแตะน้ำหรือน้ำลายลูบเพียงเบาๆแต่สำหรับภาพที่ซับซ้อนช่างจะร่างภาพลงในกระดาษก่อน ครั้นได้ภาพลงตามต้องการแล้วจึงจารทับลงบนแผ่นหนัง หรือมิเช่นนั้นก็แกะฉลุภาพแล้ววางทาบบนแผ่นหนังแล้วพ่นสีทับก็จะได้ภาพบนแผ่นหนังตามต้องการช่างที่ทำหัตถกรรมแกะหนังเป็นอาชีพได้นำเอาเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการร่างแบบลงแผ่นหนัง นั่นคือเมื่อมีภาพตัวแบบที่สมบูรณ์แล้ว ก็จะนำภาพนั้นมาทำพิมพ์เขียวเพื่อใช้เป็นแบบในการแกะรูปหนังต่อไป วิธีดังกล่าวนี้ รูปแบบของภาพที่แกะจะออกมาเหมือนๆกันสามารถสร้างงานได้รวดเร็วแต่ราคาต่ำกว่ารูปที่ร่างภาพขึ้นเฉพาะรูปนั้นๆ เพียงรูปเดียว เนื่องจากตัวหนังต้องมีลายกนกงกงอน ช่างบางคนจึงอาศัยการศึกษาเรื่องลายไทยจากตำราต่างๆ แล้วนำเข้ามาประยุกต์ใช้กับรูปหนัง โดยคงเอกลักษณ์ความเป็นพื้นบ้านเอาไว้วิธีประสมประสานเช่นนี้ ทำให้รูปหนังได้พัฒนาในส่วนละเอียดยิ่งๆขึ้น
ขั้นแกะฉลุ
ขั้นแกะฉลุ เมื่อร่างภาพเสร็จก็ถึงขั้นแกะฉลุขั้นนี้ต้องใช้ความชำนาญและต้องพิถีพิถันมากเพื่อให้ได้ดอกลายอ่อนงาม ช่วงจังหวะของดอกลายหรือกนกแต่ละตัวพอเหมาะพอดี ในการแกะฉลุ มีเครื่องมือที่สำคัญๆ ได้แก่ เขียงสำหรับรองแกะฉลุหนัง 2 อัน เป็นชนิดไม้เนื้อแข็งเนื้อเหนียว 1 อัน และไม้เนื้ออ่อนเนื้อเหนียว 1 อัน มีดขุด 2 เล่ม เป็นชนิดปลายแหลมเล็ก 1 เล่ม และปลายแหลมมน 1 เล่ม ตุ๊ดตู่หรือมุก 1 ชุด มีชื่อเรียกแต่ละอันตามลักษณะปากต่างๆกัน เช่น มุกกลม มุกเหลี่ยม มุกโค้ง มุกตา มุกดอก มุกวงรี และมุกปากแบน ค้อนตอกมุก 1 อัน และเทียนไขหรือสบู่สำหรับจิ้มปลายมีดขุดหรือปลายมุก 1 ก้อน
วิธีแกะ ถ้าแบบตอนใดเป็นกนกหรือตัวลายจะใช้มีดขุดการขุดจะใช้เขียงไม้เนื้ออ่อนรองหนัง แล้วกดปลายมีดให้เลื่อนไปเป็นจังหวะตามตัวลายแต่ละตัวโดยไม่ต้องยกมีด ลายตัวใดใหญ่มีส่วนโค้งกว้างก็ใช้มีดปลายแหลมเล็ก ถ้าแบบตอนใดต้องทำเป็นดอกลายต่างๆ หรือเดินเส้นประ ก็ใช้มุกตอกตามลักษณะของปากมุกแต่ละแบบ การตอกมุกจะใช้ค้อนตอกโดยมีเขียงไม้เนื้อแข็งรองหนัง หลังจากแกะฉลุส่วนภายในของตัวรูปสำเร็จ ก็ใช้มีดขุดแกะหนังตามเส้นรอบนอก ก็จะได้รูปหนังแยกออกเป็นตัว ถ้าเป็นรูปหนังเชิดช่างจะใช้หมุดหรือเชือกหนังร้อยส่วนต่างๆ ที่ต้องการให้เคลื่อนไหวได้เข้าตามส่วนต่างๆ ของรูป ซึ่งมีส่วนของมือ แขน และปาก เป็นต้น
ขั้นลงสี
ขั้นลงสี การลงสีหนังขึ้นอยู่กับลักษณะรูปและประโยชน์การใช้สอย รูปหนังสำหรับเชิดมีความมุ่งหมายจะใช้แสดงนาฏกรรมเล่นแสง สี และเงา ต้องการความเด่นสะดุดตาช่างจึงเลือกใช้สีฉูดฉาด เอาสีที่ตัดกันมาใช้ร่วมกัน ใช้หลายสีและเป็นสีโปร่งแสง เช่น หมึกสี หรือที่ช่างแกะหนังเรียกว่า "สีซอง" หรือ "สีเยอรมัน" สีประเภทนี้เวลาใช้จะผสมด้วยสุรา น้ำร้อน หรือน้ำมะนาว ยกเว้นสีชมพูซึ่งผสมกับน้ำร้อนได้เพียงอย่างเดียว คุณสมบัติของสีชนิดนี้สามารถซึมติดอยู่ในเนื้อหนังและไม่ลอกง่ายๆ รูปหนังเชิดส่วนใหญ่จะใช้สีชนิดนี้ เว้นแต่ตัวตลกหรือรูปอื่นๆ ที่ต้องการให้ดูทึมๆ ก็ใช้สีทึบแสง มีสีน้ำมันเป็นอาทิ สำหรับหนังใหญ่หรือรูปจับถ้าจะลงสีหลายสีก็ใช้สีชนิดนี้ แต่การเลือกสีค่อนข้างจะให้กลมกลืนกันไม่ฉูดฉาดอย่างรูปหนังเชิดของหนังตะลุง แต่ถ้าจะลงสีเดียวก็ลงสีดำ เมื่อจะเอาไปใช้ประดับตกแต่งก็ทาบบนพื้นขาว ทำให้ลวดลายของรูปหนังซึ่งลงดำตัดกับพื้นขาวดูแล้วเด่นงาม เนื่องจากรูปหนังมีเส้นเดินมุกและเส้นแกะด้วยมีดขุดเป็นการตัดเส้นอยู่ในตัวแล้ว สีที่ลงไม่ต้องการความอ่อนเข้มหรือความกลมกลืนระหว่างสีหรือเล่นเงาแต่อย่างใด การลงสีจึงทำได้สะดวก โดยใช้พู่กันซึ่งทำด้วยหวายเหลาให้ปลายแหลมแล้วทุบปลายพอช้ำๆ นำมาจุ่มน้ำหมึกแล้วระบายลงบนแผ่นหนังตามรูปแบบที่กำหนด
ขั้นลงน้ำมันชักเงา
ขั้นลงน้ำมันชักเงา เมื่อลงสีรูปหนังเสร็จ ก็ถือว่ารูปหนังเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะมีการลงน้ำมันชักเงาหรือไม่ก็ได้ แต่โดยทั่วไปถ้าเป็นรูปหนังเชิดมักจะลงน้ำมันชักเงาด้วย ทั้งนี้เพราะน้ำมันชักเงาช่วยขับให้ตัวหนังเป็นมันงาม เมื่อออกจอผ้าขาวจะดูสวยยิ่งขึ้น อนึ่ง รูปหนังชนิดนี้จะถูกใช้เชิดบ่อยที่สุด การลงน้ำมันชักเงาจะช่วยรักษาสภาพหนังมิให้ชำรุดเร็วเกินไป
การลงน้ำมันชักเงาทำได้ง่าย เพียงแค่เอารูปหนังวางราบบนกระดาษที่สะอาด ใช้พู่กันแบนชุบน้ำมันชักเงาทาบตามตัวหนังด้านละ ๓-๔ ครั้ง แล้ววางไว้ให้แห้งก็เสร็จการแกะรูปหนังเป็นงานที่ละเอียดประณีต มีขั้นตอนดำเนินการค่อนข้างซับซ้อน ต้องใช้ความรู้และทักษะหลายๆ ด้านประกอบกัน การแกะรูปแต่ละตัวๆ โดยเฉพาะรูปหนังใหญ่และรูปจับต้องใช้เวลาหลายวัน ช่างที่เป็นศิลปินต้องอาศัยความรักงาน ความพิถีพิถัน ทุ่มเทจิตใจในผลงานทั้งหมด เพื่อให้ผลงานมีคุณค่าทางศิลปะ ดูแล้วมีชีวิตวิญญาณ ฉะนั้นงานของศิลปินประเภทนี้จึงมีราคาสูงและหาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาดทั่วไป รูปหนังที่วางหรือเร่จำหน่ายอยู่ในภาคใต้ส่วนใหญ่นั้นเป็นฝีมือของช่างแกะหนังที่มุ่งทางปริมาณมากกว่าคุณภาพ อย่างไรก็ตามช่างประเภทหลังนี้เมื่อทำงานแกะหนังนานๆ ก็คงมีบางส่วนที่พัฒนาฝีมือถึงขั้นเป็นศิลปินได้
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่ 2 ตัวตลกในหนังตะลุง
ตัวตลกในหนังตะลุง
ตัวตลก มีความสำคัญในการแสดงหนังตะลุงมาก สามารถตรึงคนดูได้มีความผูกพันกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าตัวละครอื่นๆ หนังคณะหนึ่งๆ มีตัวตลกไม่น้อยกว่า 10 ตัวขึ้นไป พูดภาษาถิ่นใต้ การแต่งกายมักเปลือยท่อนบน หน้าตาจะผิดเพี้ยนจากคนจริงไปบ้าง แต่ละตัวมีเสียงพูดหรือสำเนียงโดยเฉพาะ ตัวตลกเอก นิยมนำหนังตีนของอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ มาทำเป็นริมฝีปากล่าง เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ปิดทองทั้งตัว ขนาดเชือกชักปากทำด้วยทองแบบสร้อยคอก็มี ตัวตลกมีเป็นจำนวนมาก เฉพาะตัวที่สำคัญมีดังนี้
ประวัติความเป็นมา เชื่อกันว่ารูปเท่งมีผู้ตัดเลียนรูปร่างลักษณะและถอดนิสัยมาจากคนจริง ซึ่งเป็นชาวบ้านคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา คนผู้นั้นมีอาชีพทำน้ำตาลโตนด ทำหวาก(ทำกระแช่) และรุนกุ้งฝอยให้เมียขาย
รูปร่างลักษณะ ตัดด้วยหนังหนาสีดำล้วน ผอมบาง สูง โย่ง ท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิวดำ หัวเถิก ผมหยิกเป็นปอย อยู่เฉพาะส่วนท้ายทอย จมูกทู่โต ตาขาวโต ปากกว้าง หน้าตาพิกลคล้ายนกกะฮังหรือคล้ายหัวตุ๊กแก มือเคลื่อนไหวได้ทั้ง ๒ ข้าง นิ้วมือข้างซ้ายกำหลวมๆ นิ้วชี้กับหัวแม่มืองอหงิกเป็นวงเข้าหากัน ส่วนมือข้างขวาเหลือเพียงนิ้วชี้เพียงนิ้วเดียวทู่โต เพราะเป็นคุดทะราดมาแต่เด็กๆ และมักใช้มือทั้ง ๒ ข้างทำท่าด่าแม่ผู้อื่นแทนถ้อยคำอย่างที่ภาษาใต้เรียกว่า "ฉับโขลก"
การแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก ขาว-ดำ เคียนพุงด้วยผ้าขาวม้าเหน็บมีดพื้นเมืองซึ่งเรียกว่า "อ้ายครก" เท้าเปลือย แต่หนังตะลุงสมัยใหม่ตัดรูปเท่งสวมชุด อ.ส. ก็มีชุดทหารพรานก็มี เพื่อใช้เชิดเฉพาะตอนตามบทบาทในเนื้อเรื่องที่สมมติให้เป็น
นิสัย เท่งเป็นตัวตลกคะนอง ขบขันง่าย มุทะลุไม่กลัวคน ชอบล้อเลียนเพื่อน มีความฉลาดแหลมในบางโอกาส แต่บางครั้งก็พูดพล่อยๆ มักท่าดีทีเหลว ชอบขู่สำทับเพื่อน แต่ใจจริงไม่สู้คน ใครด่าว่าก็ไม่โกรธ แต่มักยอกย้อน ชอบด่าว่าเขาง่ายๆ และอยู่ข้างจะบ้ายอ
ลีลาการพูด พูดช้าๆ แต่ไม่ชัดคำ เกือบติดอ่าง มีอารมณ์ขันอยู่ในที มักมีเสียงหัวเราะแทรก บางครั้งพูดโผงผางแบบขวานผ่าซากไม่เกรงใจใครจะด่าว่าใครไม่ยั้งคิด เมื่อพลั้งผิดมักด่าตัวเอง ชอบทำท่าประกอบคำพูดและจ้องหน้าคู่สนทนา
รูปร่างลักษณะ อ้วน เตี้ย แบบมะขามข้อเดียง ผิวดำคล้ำ ดูข้างๆ จลลงพุงตามอย่างผู้ที่เลยวัยกลางคนไปแล้วทั่วๆ ไป หัวล้านเกลี้ยง จมูกโต คางสั้น
การแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ สวมสร้อยคอ นุ่งผ้าโจงกระเบน ผ้าลายตาหมากรุก (บางคณะไม่สวมถุงน่อง) ไม่สวมรองเท้า ไม่ถืออาวุธและไม่พกอาวุธ
นิสัย เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญารอบคอบ หลักแหลม มีธรรมะธัมโม พูดน้อยและจริงจังเป็นคนหนักแน่น บึกบึน สู้ไม่ถอย เมื่อต่อสู้มักใช้หัวชนคู่ต่อสู้แทนอาวุธ ชอบอบรมสั่งสอนตัวตลกอื่นๆ ที่ประพฤติผิด มักมีความขัดแย้งกับยอดทอง ซึ่งเป็นเพื่อนคู่หู เป็นคนสงวนท่าทีและมีตบะ สีแก้วเป็นผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์ มีเวทย์มนต์คาถาและอยู่ยงคงกระพัน สามารถเอาชนะพวกยักษ์มารซึ่งไม่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่มากนัก
ลีลาการพูด สีแก้วเป็นคนพูดน้อย พูดช้าๆ หนักแน่น ชัดถ้อยชัดคำ พูดด้วยความมั่นใจ น้ำเสียงน่านับถือ รู้จังหวะการพูด เมื่อสนทนากับผู้ใหญ่มักพูดด้วยความคารวะ ไม่สอดเสือก ไม่พูดนอกประเด็น
นอกจากที่นำมาเสนอไว้ ยังมีตัวตลกอีกหลายตัว เช่น ครูฉิม ครูฉุย สิบค้างคูด อีโร้ง อ้ายทองทิง อ้ายบองหลา อ้ายท่าน้ำตก เผียก อ้ายโหนด ตัวตลกฝ่ายหญิงก็มีหลายตัว เช่น อีหนูเตร็ด อีหนูเน่า หนังแต่ละคณะ มีตลกเอกไม่เกิน 6 ตัว เข้ากับเสียงและนิสัยของนายหนัง นอกนั้นเป็นตัวตลกประกอบ ทุกตัวต้องเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้ ตัวตลกเอกเรียกเสียงหัวเราะได้มากและแสดงตลอดเรื่อง
ตัวตลก มีความสำคัญในการแสดงหนังตะลุงมาก สามารถตรึงคนดูได้มีความผูกพันกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าตัวละครอื่นๆ หนังคณะหนึ่งๆ มีตัวตลกไม่น้อยกว่า 10 ตัวขึ้นไป พูดภาษาถิ่นใต้ การแต่งกายมักเปลือยท่อนบน หน้าตาจะผิดเพี้ยนจากคนจริงไปบ้าง แต่ละตัวมีเสียงพูดหรือสำเนียงโดยเฉพาะ ตัวตลกเอก นิยมนำหนังตีนของอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ มาทำเป็นริมฝีปากล่าง เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ปิดทองทั้งตัว ขนาดเชือกชักปากทำด้วยทองแบบสร้อยคอก็มี ตัวตลกมีเป็นจำนวนมาก เฉพาะตัวที่สำคัญมีดังนี้
ฤาษี
1. ฤาษี เป็นรูปครูสำคัญมากในการแสดงหนังตะลุง ในแต่ละครั้งของการแสดงจะขาดไม่ได้ หนังตะลุงบางคณะจะใช้หนังเสือนำมาแกะและลงคาถาอาคม ใครจะจับต้องไม่ได้นอกจาก นายหนัง มิฉะนั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วย บางคนมีอาการปวดท้อง เรียกว่า ถูกครูหมอ รูปหนังนี้ต้องตั้งหิ้งบูชา
พระอิศวร
2. พระอิศวร มักแกะเป็นรูปพระอิศวรทรงโคอุสุภราช ใช้สำหรับเชิดเบิกโรงโดยออกรูปเป็นลำดับต่อจากพระฤๅษี ชาวบ้านเรียกว่า "ออกโค"นายหนังจะเชิดรูปคล้ายลักษณะการย่างเท้าของโค
ตัวพระ
3. ตัวพระ เรื่องที่นำมาแสดงหนังตะลุง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจากวรรณคดีหรือนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ที่พระเอกเป็นกษัตริย์หรือเจ้าชาย ตัวหนังรูปตัวพระจึงมักแกะเป็นชายหนุ่มรูปงาม ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่พระเอกเป็นคนธรรมดาสามัญก็จะแต่งตัวอีกแบบ
ตัวนาง
4. ตัวนาง ตัวหนังรูปตัวนางมักแกะเป็นรูปหญิงสาวสวย โดยมากจะทรงเครื่องอย่างเจ้าหญิง ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่เป็นเรื่องประเภทจักรๆ วงศ์ๆ ถ้าเล่นเรื่องที่ตัวนางเป็นคนสามัญก็จะแต่งตัวอย่างคนธรรมดา
ยักษ์
5. ยักษ์ แกะเป็นรูปยักษ์หน้าตาน่ากลัว ถ้าเป็นยักษ์เจ้าเมือง ก็จะแต่งกายเต็มยศหากเป็นยักษ์สามัญก็แต่งกายธรรมดา
หนุมาน
6. หนุมาน ลิงเผือกที่มีอิทธิฤทธิ์มาก เป็นทหารเอกของพระราม ใช้ออกรูปแสดงหนังตะลุงในเรื่องรามเกียรติ์
เท่ง หรือ อ้ายเท่ง
7. เท่ง หรือ อ้ายเท่ง เป็นชื่อรูปตลกของหนังตะลุงซึ่งทุกคณะมักมีประจำโรง และทุกคณะ สวมลักษณะนิสัย ลีลาการพูด สำเนียงพูดเป็นลักษณะเดียวกัน มักออกเป็นตัวเสนาคู่กับหนูนุ้ยประวัติความเป็นมา เชื่อกันว่ารูปเท่งมีผู้ตัดเลียนรูปร่างลักษณะและถอดนิสัยมาจากคนจริง ซึ่งเป็นชาวบ้านคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา คนผู้นั้นมีอาชีพทำน้ำตาลโตนด ทำหวาก(ทำกระแช่) และรุนกุ้งฝอยให้เมียขาย
รูปร่างลักษณะ ตัดด้วยหนังหนาสีดำล้วน ผอมบาง สูง โย่ง ท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิวดำ หัวเถิก ผมหยิกเป็นปอย อยู่เฉพาะส่วนท้ายทอย จมูกทู่โต ตาขาวโต ปากกว้าง หน้าตาพิกลคล้ายนกกะฮังหรือคล้ายหัวตุ๊กแก มือเคลื่อนไหวได้ทั้ง ๒ ข้าง นิ้วมือข้างซ้ายกำหลวมๆ นิ้วชี้กับหัวแม่มืองอหงิกเป็นวงเข้าหากัน ส่วนมือข้างขวาเหลือเพียงนิ้วชี้เพียงนิ้วเดียวทู่โต เพราะเป็นคุดทะราดมาแต่เด็กๆ และมักใช้มือทั้ง ๒ ข้างทำท่าด่าแม่ผู้อื่นแทนถ้อยคำอย่างที่ภาษาใต้เรียกว่า "ฉับโขลก"
การแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก ขาว-ดำ เคียนพุงด้วยผ้าขาวม้าเหน็บมีดพื้นเมืองซึ่งเรียกว่า "อ้ายครก" เท้าเปลือย แต่หนังตะลุงสมัยใหม่ตัดรูปเท่งสวมชุด อ.ส. ก็มีชุดทหารพรานก็มี เพื่อใช้เชิดเฉพาะตอนตามบทบาทในเนื้อเรื่องที่สมมติให้เป็น
นิสัย เท่งเป็นตัวตลกคะนอง ขบขันง่าย มุทะลุไม่กลัวคน ชอบล้อเลียนเพื่อน มีความฉลาดแหลมในบางโอกาส แต่บางครั้งก็พูดพล่อยๆ มักท่าดีทีเหลว ชอบขู่สำทับเพื่อน แต่ใจจริงไม่สู้คน ใครด่าว่าก็ไม่โกรธ แต่มักยอกย้อน ชอบด่าว่าเขาง่ายๆ และอยู่ข้างจะบ้ายอ
ลีลาการพูด พูดช้าๆ แต่ไม่ชัดคำ เกือบติดอ่าง มีอารมณ์ขันอยู่ในที มักมีเสียงหัวเราะแทรก บางครั้งพูดโผงผางแบบขวานผ่าซากไม่เกรงใจใครจะด่าว่าใครไม่ยั้งคิด เมื่อพลั้งผิดมักด่าตัวเอง ชอบทำท่าประกอบคำพูดและจ้องหน้าคู่สนทนา
อ้ายหนูนุ้ย
8. อ้ายหนูนุ้ย หรือนายหนูนุ้ย เป็นคนวิกลจริต รูปร่างหน้าตาและกริยาท่าทางดูประหลาด เที่ยวเดินเตร็ดเตร่อยู่แถวตลาดคลองขวาง จังหวัดสงขลา "หนังนุ้ยหมาตาย" บรมครูหนังตะลุงไปพบเข้าจึงเอามาเป็นแบบตัดเป็นตัวตลก มีกรรไกรหนีบหมากเป็นอาวุธประจำตัว อ้ายหนูนุ้ย หรือนายหนูนุ้ยคนซื่อๆ แกมโง่ ผิวดำ รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงยานโย้คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า จมูกปากยื่นออกไป คล้ายกับปากวัว มีเครายาวคล้ายหนวดแพะ ใครพูดเรื่องวัวเป็นไม่พอใจ นุ่งผ้าโสร่งแต่ไม่มีลวดลาย ไม่สวมเสื้อ ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็นอาวุธ พูดเสียงต่ำสั่นเครือดันขึ้นนาสิก ชอบคล้อยตามคนยุยงส่งเสริม แสดงความซื่อออกมาเสมอ
อ้ายยอดทอง
9. นายยอดทอง เชื่อกันว่าเป็นชื่อคนจริงชาวจังหวัดพัทลุง รูปร่างอ้วน ผิวดำ พุงย้อยก้นงอนขึ้นบนผมหยิกเป็นลอน จมูกยื่น ปากบุ๋ม เหมือนปากคนแก่ไม่มีฟัน หน้าเป็นแผลจนลายคล้ายหน้าจระเข้ โครพูดถึงเรื่องจระเข้ไม่พอใจ นุ่งผ้าลายโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อ เหน็บกริชเป็นอาวุธประจำกาย เป็นคนเจ้าชู้ ปากพูดจาโอ้อวด ใจเสาะ ขี้ขลาด ชอบขู่หลอก พูดจาเหลวไหล ยกย่องตนเอง บ้ายอ ชอบอยู่กับนายสาว ที่มีสำนวนชาวบ้านว่า “ยอดทองบ้านาย” นายยอดทอง แสดงคู่กับตัวตลกอื่นๆ ได้หลายตัว เช่น คู่กับอ้ายหลำ คู่กับอ้ายขวัญเมือง คู่กับอ้ายพูนแก้ว คู่กับอ้ายดำบ้า คู่กับอ้ายลูกหมี คู่กับอ้ายเสมียน เป็นต้น
นายสีแก้ว
10. นายสีแก้ว ประวัติความเป็นมา เชื่อกันว่าเป็นรูปตัวตลกที่ตัดขึ้นโดยเลียนแบบจากคนจริง ซึ่งเป็นชาวบ้านรัตปูร (รัตปูน) ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลารูปร่างลักษณะ อ้วน เตี้ย แบบมะขามข้อเดียง ผิวดำคล้ำ ดูข้างๆ จลลงพุงตามอย่างผู้ที่เลยวัยกลางคนไปแล้วทั่วๆ ไป หัวล้านเกลี้ยง จมูกโต คางสั้น
การแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ สวมสร้อยคอ นุ่งผ้าโจงกระเบน ผ้าลายตาหมากรุก (บางคณะไม่สวมถุงน่อง) ไม่สวมรองเท้า ไม่ถืออาวุธและไม่พกอาวุธ
นิสัย เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญารอบคอบ หลักแหลม มีธรรมะธัมโม พูดน้อยและจริงจังเป็นคนหนักแน่น บึกบึน สู้ไม่ถอย เมื่อต่อสู้มักใช้หัวชนคู่ต่อสู้แทนอาวุธ ชอบอบรมสั่งสอนตัวตลกอื่นๆ ที่ประพฤติผิด มักมีความขัดแย้งกับยอดทอง ซึ่งเป็นเพื่อนคู่หู เป็นคนสงวนท่าทีและมีตบะ สีแก้วเป็นผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์ มีเวทย์มนต์คาถาและอยู่ยงคงกระพัน สามารถเอาชนะพวกยักษ์มารซึ่งไม่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่มากนัก
ลีลาการพูด สีแก้วเป็นคนพูดน้อย พูดช้าๆ หนักแน่น ชัดถ้อยชัดคำ พูดด้วยความมั่นใจ น้ำเสียงน่านับถือ รู้จังหวะการพูด เมื่อสนทนากับผู้ใหญ่มักพูดด้วยความคารวะ ไม่สอดเสือก ไม่พูดนอกประเด็น
อ้ายสะหม้อ
11. อ้ายสะหม้อ หนังกั้น ทองหล่อ นำมาจากคนจริง โดยได้รับอนุญาตจากชาวอิสลามชื่อสะหม้อ อยู่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนังตะลุงอื่นๆ ที่นำไปเลียนแบบ พูดกินรูปสู้หนังกั้น ทองหล่อไม่ได้ รูปร่างอ้ายสะหม้อ หลังโกง มีโหนกคอ คางย้อย ลงพุง รูปร่างเตี้ย สวมหมวกแขก นุ่งผ้าโสร่ง ไม่สวมเสื้อ พูดล้อเลียนผู้อื่นได้เก่ง ค่อนข้างอวดดี นับถือศาสนาอิสลามแต่ชอบกินหมู ชอบดื่มเหล้า พูดสำเนียงเนิบนาบ รัวปลายลิ้น
อ้ายขวัญเมือง
12. อ้ายขวัญเมือง ไม่มีประวัติความเป็นมา เป็นตัวตลกเอกของหนังจันทร์แก้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช คนในถิ่นนั้น เขาไม่เรียกว่าอ้ายเมือง แต่เรียกว่า “ลุงขวัญเมือง” แสดงว่าได้รับการยกย่องจากคนในท้องถิ่นอย่างสูงเหมือนกับเป็นคนสำคัญผู้ หนึ่ง ใบหน้าของขวัญเมืองคล้ายแพะ ผมบางหยิกเล็กน้อย ผิวดำ หัวเถิก จมูกโด่งโตยาว ปากกว้าง พุงยานโย้ ก้นเชิด ปลายนิ้งชี้คล้ายนิ้วมืออ้ายเท่ง นุ่งผ้าพื้นดำ คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ เป็นคนซื่อ บางครั้งแฝงไว้ซึ่งความฉลาด ชอบสงสัยเรื่องของผู้อื่น พูดจาเสียงหวาน หนังจังหวัดสงขลาแสดงคู่กับอ้ายสะหม้อ หนังจังหวัดนครศรีธรรมราชแถวอำเภอเชียรใหญ่ หัวไทร ปากพนัง ท่าศาลา ให้แสดงคู่กับนายยอดทอง หนังพัทลุง ตรัง นิยมให้เป็นตัวบอกเรื่อง เฝ้าประตูเมือง ออกตีฆ้องร้องป่าว
อ้ายโถ
13. อ้ายโถ เอาเค้ามาจากจีนบ๋าบา ชาวพังบัว อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา รูปร่าง มีศีรษะค่อนข้างเล็ก ตาโตถลน ปากกว้าง ริมฝีปากล่างเม้มเข้าใน ส่วนท้องตึง อกใหญ่เป็นรูปโค้ง สวมหมวกมีกระจุกข้างบน นุ่งกางเกงถลกขา ถือมีดบังตอเป็นอาวุธ ชอบร้องรำทำเพลง ขี้ขลาดตาขาว โกรธใครไม่เป็น ถือเอาเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ ใครจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม อ้ายโถจะชักเรื่องที่พูดวกเข้าหาเรื่องกินเสมอ เป็นตัวตลกประกอบ
อ้ายพูน
14. ผู้ใหญ่พูน น่าจะเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่คนใดคนหนึ่ง รูปร่างสูงใหญ่ จมูกยาวคล้ายตะขอเกี่ยวมะพร้าว ศีรษะล้าน มีผมเป็นกระจุกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางกลวงอยู่ กลางพุงโย้ย้อยยาน ตะโพกใหญ่ขวิดขึ้นบน เพื่อนมักจะล้อเลียนว่า บนหัวติดงวงถังตักน้ำ สันหลังเหมือนเขาพักผ้า (อยู่ระหว่างพัทลุง-ตรัง) นุ่งผ้าโจงกระเบน ไม่มีลวดลาย ชอบยุยง โม้โอ้อวด เห่อยศ ขู่ตะคอผู้อื่นให้เกรงกลัว ธาตุแท้เป็นคนขี้ขลาดตาขาว ชอบแสแสร้งปั้นเรื่องฟ้องเจ้านาย ส่วนมากเป็นคนรับใช้อยู่เมืองยักษ์หรือกับฝ่ายโกง พูดช้าๆ หนีบจมูก เป็นตัวตลกประกอบ
อ้ายแก้วกบ
15. อ้ายแก้วกบ อ้ายลูกหมีก็เรียก เป็นตัวตลกเอกของหนังจังหวัดนครศรีธรรมราช รูปร่างอ้วน ปากกว้างคล้ายกบ ชอบสนุกสนาน พูดจากไม่ชัด หัวเราะเก่ง ชอบพูดคำศัพท์ที่ผิดๆ เช่น อาเจียนมะขาม (รากมะขาม) ข้าวหนาว (ข้าวเย็น) ชอบร้องบทกลอน แต่ขาดสัมผัส เพื่อคู่หูคือนายยอดทองนอกจากที่นำมาเสนอไว้ ยังมีตัวตลกอีกหลายตัว เช่น ครูฉิม ครูฉุย สิบค้างคูด อีโร้ง อ้ายทองทิง อ้ายบองหลา อ้ายท่าน้ำตก เผียก อ้ายโหนด ตัวตลกฝ่ายหญิงก็มีหลายตัว เช่น อีหนูเตร็ด อีหนูเน่า หนังแต่ละคณะ มีตลกเอกไม่เกิน 6 ตัว เข้ากับเสียงและนิสัยของนายหนัง นอกนั้นเป็นตัวตลกประกอบ ทุกตัวต้องเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้ ตัวตลกเอกเรียกเสียงหัวเราะได้มากและแสดงตลอดเรื่อง
อ้ายซ้ง
16. อ้ายซ้ง เป็นชาวจีน อยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอาชีพรับจ้างตัดไม้ลากไม้ นิสัยดี แต่ชอบ ดื่มเหล้า มักถือขวานเป็นประจำเพราะอยากทำตัวให้เหมือนชาวนครศรีธรรมราชทั่วไปที่ชอบพกลูกขวานติดตัวเสมอ
อ้ายเหมียน
17. อ้ายเหมียน มีนิสัยชอบรำมโนราห์ เป็นรูปหนังตะลุงที่หนังหนูจันทร์คิดทำขึ้นให้เป็นตัวตลกเด่นประจำคณะ เพื่อเรียกความสนใจจากคนดู
อีหนูเนา
18. อีหนูเนา เป็นรูปหนังตะลุงที่หนังตุดคิดทำขึ้นมาเพื่อให้เป็นตัวตลกหญิงเป็นสาวชาวบ้านกิริยา มารยาทเรียบร้อย จิตใจดี ซื่อสัตย์ ไม่สนใจเรื่องความรัก
อ้ายกลั้ง
19. อ้ายกลั้ง ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคนขี้โรค โดยเฉพาะเป็นโรคขี้กลากจึงมักอยู่ไม่เป็นสุข ต้องเกาตลอดเวลา
บทที่ 1 ประวัติและความเป็นมาของหนังตะลุง
ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง
นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงาจำพวกหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายมาทั้งในแถบประเทศยุโรป และเอเชีย โดยอ้างว่า มีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะเหนืออียิปต์ ได้จัดให้มีการแสดงหนัง(หรือการละเล่นที่คล้ายกัน)เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะและประกาศเกียรติคุณของพระองค์ และเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงานี้มีแพร่หลายในประเทศอียิปต์มาแต่ก่อนพุทธกาล ในประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนังที่เรียกกันว่า ฉายานาฏกะ เรื่องมหากาพย์รามายณะ เพื่อบูชาเทพเจ้าและสดุดีวีรบุรุษ ส่วนในประเทศจีน มีการแสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกแห่งจักรพรรดิยวนตี่ (พ.ศ. 411 - 495) เมื่อพระนางวายชนม์
นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงาจำพวกหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายมาทั้งในแถบประเทศยุโรป และเอเชีย โดยอ้างว่า มีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะเหนืออียิปต์ ได้จัดให้มีการแสดงหนัง(หรือการละเล่นที่คล้ายกัน)เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะและประกาศเกียรติคุณของพระองค์ และเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงานี้มีแพร่หลายในประเทศอียิปต์มาแต่ก่อนพุทธกาล ในประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนังที่เรียกกันว่า ฉายานาฏกะ เรื่องมหากาพย์รามายณะ เพื่อบูชาเทพเจ้าและสดุดีวีรบุรุษ ส่วนในประเทศจีน มีการแสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกแห่งจักรพรรดิยวนตี่ (พ.ศ. 411 - 495) เมื่อพระนางวายชนม์
ในสมัยต่อมา การแสดงหนังได้แพร่หลายเข้าสู่ในเอเชียอาคเนย์ เขมร พม่า ชวา มาเลเซีย และประเทศไทย คาดกันว่า หนังใหญ่คงเกิดขึ้นก่อนหนังตะลุง และประเทศแถบนี้คงจะได้แบบมาจากอินเดีย เพราะยังมีอิทธิพลของพราหมณ์หลงเหลืออยู่มาก เรายังเคารพนับถือฤๅษี พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ ยิ่งถือว่าเป็นเรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์ หนังใหญ่จึงแสดงเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ เริ่มแรกคงไม่มีจอ คนเชิดหนังใหญ่จึงแสดงท่าทางประกอบการเชิดไปด้วย
เชื่อกันว่าหนังใหญ่มีอยู่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีหลักฐานอ้างอิงว่า มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์และทางกวี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาราชครูหรือพระโหราธิบดี และมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนัง(หนังใหญ่)อันเป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทรโฆษคำฉันท์ว่า..
หนังใหญ่ แต่เดิมเรียกว่า "หนัง" นิยมเล่นกันแพร่หลายในแถบภาคกลาง ส่วนหนังตะลุง แต่เดิมคนในท้องถิ่นภาคใต้ก็เรียกสั้นๆว่า "หนัง" เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ได้ยินกันบ่อยว่า "ไปแลหนังโนรา" จึงสันนิษฐานว่า คำว่า "หนังตะลุง" คงจะเริ่มใช้เมื่อมีการนำหนังจากภาคใต้ไปแสดงให้เป็นที่รู้จักในภาคกลาง จึงได้เกิดคำ "หนังตะลุง" และ "หนังใหญ่" ขึ้นมาเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน หนังจากภาคใต้เข้าไปเล่นในกรุงเทพฯ ครั้งแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาพัทลุง (เผือก) นำไปเล่นที่แถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้นเป็นนายหนังจากจังหวัดพัทลุง คนกรุงเทพฯจึงเรียก "หนังพัทลุง" ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็น "หนังตะลุง"
เชื่อกันว่า หนังตะลุงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ โดยย่อรูปหนังให้เล็กลง ในยุคแรกๆคงแสดงเรื่องรามเกียรติ์เหมือนกัน แต่เปลี่ยนบทพากย์มาเป็นภาษาท้องถิ่น เปลี่ยนเครื่องดนตรีจาก พิณพาทย์ ตะโพน มาเป็น ทับ กลอง ฉิ่ง โหม่ง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิมในภาคใต้ หลักฐานที่บอกว่าหนังตะลุงคงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ คือ แม้หนังตะลุงจะไม่ได้ใช้ พิณพาทย์ ตะโพน แต่ในโองการร่ายมนต์พระอิศวร(บทบูชาพระอิศวร) ก็ยังมีบทที่ว่า..
ต่อมา หนังภาคใต้หรือหนังตะลุง รับอิทธิพลของหนังชวาเข้ามาผสมผสาน จึงทำให้เกิดวิวัฒนาการใน "รูปหนัง" ขึ้นมา รูปหนังใหญ่จะเป็นแผ่นเดียวกันทั้งตัว เคลื่อนไหวอวัยวะไม่ได้ แต่รูปหนังชวาเคลื่อนไหวมือและปากได้ ส่วนใหญ่รูปหนังจะเคลื่อนไหวมือได้เพียงข้างเดียว ยกเว้นรูปกาก หรือตัวตลก และรูปนางบางตัว ที่สามารถขยับมือได้ทั้งสองข้าง รูปหนังชวามีใบหน้าที่ผิดไปจากคนจริง และหนังตะลุงก็รับแนวคิดนี้มาปรับใช้กับรูปตัวตลก เช่น แกะรูปหนูนุ้ยให้หน้าคล้ายวัว เท่งหน้าคล้ายนกกระฮัง เป็นต้น
หนังตะลุงเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด นักวิชาการสันนิษฐานว่าคงเป็นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะกลอนหนังตะลุงนิยมแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งในสมัยอยุธยากลอนแปดไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้านรุ่นเก่าแก่ล้วนแต่งเป็นกาพย์ทั้งสิ้น กลอนแปดเพิ่งมาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางก็เมื่อหลังสุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้ว หนังตะลุงเกิดขึ้นในภาคใต้ครั้งแรกที่จังหวัดใด ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด
เชื่อกันว่าหนังใหญ่มีอยู่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีหลักฐานอ้างอิงว่า มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์และทางกวี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาราชครูหรือพระโหราธิบดี และมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนัง(หนังใหญ่)อันเป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทรโฆษคำฉันท์ว่า..
ไหว้เทพยดาอา- รักษ์ทั่วทิศาดร
ขอสวัสดิขอพร ลุแก่ใจดั่งใจหวัง
ทนายผู้คอยความ เร่งตามไต้ส่องเบื้องหลัง
จงเรืองจำรัสทั้ง ทิศาภาคทุกพาย
จงแจ้งจำหลักภาพ อันยงยิ่งด้วยลวดลาย
ให้เห็นแก่ทั้งหลาย ทวยจะดูจงดูดี
หนังใหญ่ แต่เดิมเรียกว่า "หนัง" นิยมเล่นกันแพร่หลายในแถบภาคกลาง ส่วนหนังตะลุง แต่เดิมคนในท้องถิ่นภาคใต้ก็เรียกสั้นๆว่า "หนัง" เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ได้ยินกันบ่อยว่า "ไปแลหนังโนรา" จึงสันนิษฐานว่า คำว่า "หนังตะลุง" คงจะเริ่มใช้เมื่อมีการนำหนังจากภาคใต้ไปแสดงให้เป็นที่รู้จักในภาคกลาง จึงได้เกิดคำ "หนังตะลุง" และ "หนังใหญ่" ขึ้นมาเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน หนังจากภาคใต้เข้าไปเล่นในกรุงเทพฯ ครั้งแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาพัทลุง (เผือก) นำไปเล่นที่แถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้นเป็นนายหนังจากจังหวัดพัทลุง คนกรุงเทพฯจึงเรียก "หนังพัทลุง" ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็น "หนังตะลุง"
เชื่อกันว่า หนังตะลุงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ โดยย่อรูปหนังให้เล็กลง ในยุคแรกๆคงแสดงเรื่องรามเกียรติ์เหมือนกัน แต่เปลี่ยนบทพากย์มาเป็นภาษาท้องถิ่น เปลี่ยนเครื่องดนตรีจาก พิณพาทย์ ตะโพน มาเป็น ทับ กลอง ฉิ่ง โหม่ง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิมในภาคใต้ หลักฐานที่บอกว่าหนังตะลุงคงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ คือ แม้หนังตะลุงจะไม่ได้ใช้ พิณพาทย์ ตะโพน แต่ในโองการร่ายมนต์พระอิศวร(บทบูชาพระอิศวร) ก็ยังมีบทที่ว่า..
อดุลโหชันชโนทั้งผอง พิณพาทย์ ตะโพน กลอง
ข้าจะเล่นให้ท่านทั้งหลายดู
หนังตะลุงเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด นักวิชาการสันนิษฐานว่าคงเป็นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะกลอนหนังตะลุงนิยมแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งในสมัยอยุธยากลอนแปดไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้านรุ่นเก่าแก่ล้วนแต่งเป็นกาพย์ทั้งสิ้น กลอนแปดเพิ่งมาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางก็เมื่อหลังสุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้ว หนังตะลุงเกิดขึ้นในภาคใต้ครั้งแรกที่จังหวัดใด ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)